วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู




ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้





ประเพณีไทย ประเพณีแห่เทียนพรรษา

     
                   ประวัติงานประเพณีแห่เทียนพรรษา

                            

ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล       ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่   เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน
การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

การละเล่นของไทย

ประวัติความเป็นมาของการละเล่นของไทย

               


  การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำดับ เด็ก ๆ เห็นใหญ่ทำก็เลียนแบบนำดินมาปั้นเล่นบาง 

             ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ก็กล่าวคือถึงคนในสมัยนั้นว่าอยู่เย็นเป็นสุข อยากเล่นก็เล่น ดังที่กล่าวไว้ว่า
“ ใครจักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน “ แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง 
             ในสมัยอยุธยาได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องนางโนห์รา ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ดังบทที่ว่า 
                       เมื่อนั้น เอวรรณขวัญข้าวมโนห์รา เป็นปลาตะเพียนทองล่องน้ำมา คือ ดังพระยาราชหงส์ทอง ล่องเข้าในอวนโห่ร้อง มีในสระพระคงคา “ วรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏชื่อละเล่นหลายอย่างเช่นตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น         


วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันวิสาขบูชา

               ประวัติวันวิสาขบูชา


        ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา
        ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทย






วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทย ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ  
         
“นิทานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมา  ผาแดงนางไอ่  พระยาคันคาก  ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟถวายแด่พญาแถน  เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล  หลาบสิบปีได้สืบทอดงานประเพณีบุญบั้งไฟ  ความสวยงามของการตกแต่งขบวนที่ยิ่งใหญ่  ควันสีขาวพุ่งทะยานไปตามบั้งไฟแสนที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า  ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น  และเสียงลุ้นของผู้คน  สุดเร้าได้ทุกครั้งไป”
เมื่อถึงเดือน ๖ ชาวอีสานจะมีการจัดงานประเพณีที่สำคัญ  หนึ่งในฮีตสิบสอง  จากความเชื่อในการบูชาพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  พร้อมเข้าสู่การทำนาครั้งใหม่  และกล่าวกันว่าหากหมู่บ้านใด  ชุมชนไหน  มิได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นในปีนั้นๆ  ฝนก็จะไม่ตก  พื้นดินก็จะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเพาะปลูกใดๆ ได้