วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นของไทย

ประวัติความเป็นมาของการละเล่นของไทย

               


  การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำดับ เด็ก ๆ เห็นใหญ่ทำก็เลียนแบบนำดินมาปั้นเล่นบาง 

             ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ก็กล่าวคือถึงคนในสมัยนั้นว่าอยู่เย็นเป็นสุข อยากเล่นก็เล่น ดังที่กล่าวไว้ว่า
“ ใครจักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน “ แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง 
             ในสมัยอยุธยาได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องนางโนห์รา ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ดังบทที่ว่า 
                       เมื่อนั้น เอวรรณขวัญข้าวมโนห์รา เป็นปลาตะเพียนทองล่องน้ำมา คือ ดังพระยาราชหงส์ทอง ล่องเข้าในอวนโห่ร้อง มีในสระพระคงคา “ วรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏชื่อละเล่นหลายอย่างเช่นตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น         


                       การละเล่นของไทย 

    กระโดดเชือกคู่


   

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

เลือกผู้เล่น คนมาจับปลายเชือกคนละข้าง แล้วแกว่งไปด้านข้างทางเดียวกัน  ผู้เล่นที่เหลือเข้าไปกระโดดข้ามเชือกที่กำลังแกว่าง  จะกระโดดทีละคนหรือพร้อมกันหลายๆ คนก็ได้  ถ้าใครกระโดดสะดุดเชือก หรือกระโดดคร่อมเชือก ถือว่าตายต้องไปถือเชือกแกว่ง และให้คนที่ถือเชือกอยู่เดิมมากระโดดแทน

อุปกรณ์

เชือก เส้น ยาวประมาณ 5.10 เมตร

กระโดดเชือกเดี่ยว


จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

ผู้เล่นจับปลายเชือก ข้าง แก่งไปข้างหน้าพอเชือกแกว่งมาถึงปลายเท้าก็กระโดดข้ามเชือกทีละขา หรือพร้อมกันทั้ง ขาก็ได้ ถ้าเหยียบเชือกหรือกระโดดข้ามไม่พ้นเชือกก็ต้องให้ผู้เล่นคนอื่นกระโดดต่อ  ซึ่งในการกระโดดเชือกเดี่ยวนี้บางคนอาจจะแกว่งเชือกไปทางด้านหลังก็ได้

อุปกรณ์

เชือก เส้น มีความยาวเท่ากับความสูงของผู้เล่น (เมื่อจับเชือกสองมือใช้เท้าเหยียบกลางเชือก แล้วยกแขนขึ้นสูงระดับศีรษะของตัวเอง)


                        กาฟักไข่


จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

ใช้ผลไม้หรืออะไรก็ได้ สมมุติว่าเป็นไข่ และเขียนวงกลมลงบนพื้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ฟุต วง และอีกวงหนึ่งอยู่ในวงแรก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ฟุต วางทั้งหมดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกา ยืนในวงกลมวงใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมวงใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ป้องกันไข่ โดยมีกติกาการเล่น ดังนี้
1.     ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ เข้าไปในวงกลมไม่ได้
2.     ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ ต้องระวังมิให้อีกาตีถูกมือ หรือแขนของตน ซึ่งล่วงล้ำเข้าไปในวงกลมได้
3.     ถ้าแย่งไข่ไปจากอีกาได้หมดแล้ว ให้ปิดตากาแล้วเอาไข่ไปซ่อนให้อีกาตามหาไข่ ถ้าพบไข่ที่ผู้เล่นคนใดเป็นคนซ่อน ผู้นั้นต้องเปลี่ยนมาเป็นกาแทน

อุปกรณ์

ก้อนหินหรือผลไม้เท่าจำนวนคนเล่น ยกเว้นคนที่เป็นกา คน

                            

                           งูกินหาง

จำนวนผู้เล่น

ผู้เล่นมีจำนวน 8-10 คน

วิธีเล่น

แบ่งผู้เล่นเป็น ฝ่าย ฝ่ายที่ จะต้องเป็น พ่องู” 1 คน ฝ่ายที่ มี แม่งู” 1 คน ที่เหลือเป็น ลูกงู” ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า แม่งูเอ๋ย” แม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า เอ๋ย” พอช่วงท้ายพ่องูถามว่า กินหัว กินหาง” แม่งูตอบว่ากินกลางตลอดตัว” ผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด

อุปกรณ์

ไม่มี

                                จ้ำจี้

จำนวนผู้เล่น


                ผู้เล่นจะมีจำนวน 3-4 คน


วิธีเล่น

ผู้เล่นจะวางมือบนพื้น แล้วเด็กคนแรกเป็นคนชี้นิ้วไปเรื่อยๆ พร้อมกับร้องเพลง จ้ำจี้มะเขือเปาะ” เมื่อร้องจบแล้วนิ้วชี้ไปตกที่นิ้วของใคร คนนั้นจะต้องหดนิ้วไว้ในอุ้งมือ จากนั้นก็เริ่มร้องเพลงต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายนิ้วใครขาดหายไปมากที่สุดจะถือว่าเป็นผู้แพ้
อุปกรณ์
ไม่มี
เพลงประกอบ
จ้ำจีมะเขือเปราะ
พายเรืออกแอ่น
สาวๆ หนุ่มๆ
อาบน้ำท่าวัด
เอากระจกที่ไหนส่อง
กะเทาะหน้าแว่น
กระแท่นต้นกุ่ม
อาบน้ำท่าไหน
เอาแป้งที่ไหนผัด
เยี่ยมๆ มองๆ นกขุนทองร้องฮู้


                      เดินกะลา



จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

ผู้เล่นยืนบนกะลา ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกที่ก้นกะลาไว้ทั้ง เท้า แล้วเอามือดึงเชือกให้ตึง เมื่อได้สัญญาณ ทุกคนจะรีบเดินไปให้ถึงเส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าระหว่างที่เดินไปคนใดเท้าตกจากกะลาไปถูกพื้นก็เป็นผู้แพ้
อุปกรณ์
กะลาครึ่งซีกเจาะรูที่ก้นกะลา แล้วเอาเชือกยาวประมาณ เมตร ร้อยที่รูกะลาเป็นคู่ๆ ปลายเชือก ข้าง ผูกปมไว้ในกะลาเพื่อไม่ให้หลุด
หมายเหตุ
ทางใต้เรียก กุบกับ


                         ตีลูกล้อ


จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

นำลูกล้อมายังจุดเริ่มต้น ใช้ไม้ส่งลูกล้อตีลูกล้อให้กลิ้งไป คอยเลี้ยงลูกล้อไว้ให้กลิ้งไปข้างหน้าโดยไม่ให้ลูกล้อสะดุดพลิกคว่ำ หากใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ

อุปกรณ์

ไม้ส่งขนาดเหมาะสมกับมือผู้เล่น



                        ม้าก้านกล้วย


จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

ทำม้าจากก้านกล้วยเสร็จ ผู้เล่นขี่คร่อม ผูกเชือกสะพายวิ่งควบม้าจากจุดเริ่มต้นไปจนยังจุดสิ้นสุด แข่งขันความเร็วกัน ผู้เล่นคนใดวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
อุปกรณ์
ก้านกล้วย และเชือก


   

                              ม้าเขย่ง


จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

ตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ 1.5 – 2 เมตร เว้นแขนงกิ่งที่แข็งแรงไว้ สำหรับเหยียบ จากนั้นผู้เล่นยืนบนแขนงกิ่งนั้นๆ ทรงตัวเดินไปมา หรือวิ่งแข่งขันกัน หากผู้เล่นคนใดตกลงมาก็จะเป็นฝ่ายแพ้
อุปกรณ์
ไม้ไผ่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น